จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทริคเด็ดๆ ถ่ายภาพพาโนรามาให้สวยเก๋ด้วยมือเราเอง


สร้างฉากหน้าให้กับภาพ เพื่อให้ภาพไม่หลวม
เพื่อนๆ คงรู้แล้วว่ากล้อง cyber-shot สามารถถ่ายรูปพาโนรามาได้เพียงช็อตเดียว วันนี้เลยนำทริคเด็ดๆ มาบอกว่า การถ่ายภาพพาโนรามาออกมาสวยเก๋ ต้องทำอย่างไรกันบ้างมาฝากค่ะ :)

การวัดแสง
เนื่องจากการถ่ายภาพแนวนี้ กินพื้นที่เป็นกว้างมากๆ เกินกว่าที่กล้องจะวัดแสงในครั้งเดียวได้ จึงเกิดปัญหา โดยเฉพาะที่ที่มีความต่างแสงมากๆ ว่าเราควรจะวัดแสงที่จุดไหน วัดตรงที่มืด ส่วนที่สว่างก็ขาวโพลน ส่วนถ้าวัดที่สว่าง ส่วนที่มืดก็ดำปี๋อีก คำตอบไม่ยากค่ะ  ตรงไหนเป็นจุดเด่นของภาพก็ให้วัดแสงจุดนั้น โดยการกดชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งค้างไว้ เพื่อวัดแสง แล้วหมุนกล้องมีที่จุดเริ่มต้นของภาพ แล้วกดย้ำเพื่อเป็นการกดชัตเตอร์ (กดค้างไว้ครึ่งหนึ่งเพื่อวัดแสงแล้ว) จากนัดก็แพนกล้องตามปรกติ เพียงเท่านี่ก็ได้ภาพในสภาพแสงตามต้องการแล้วค่ะ


หลีกเลี่ยงการถ่ายวัดถุที่กำลังเคลื่อนไหว
กล้องCyber-shot รุ่นแรกๆที่มีโหมดถ่ายพานอราม่ามักมีปัญหาเมื่อถ่ายวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว กล้องจับภาพไม่ทันแล้วนำมาต่อผิดสัดส่วนหรือซ้อนกัน แต่ในรุ่นหลังๆ ได้แก้ปัญหานี้เรียบร้อย จึงไม่ต้องกังวลอีกต่อไป


ใช้ถ่ายคน หรือภาพหมู่
หากเป็นการถ่ายพาโนราม่าแบบดั้งเดิมอาจเป็นเรื่องยากที่จะถ่ายคน แต่สำหรับกล้อง Cyber Shot กลายเป็นเรื่องง่ายเท่ากับการถ่ายภาพธรรมดา แต่จำเป็นต้องกะระยะเผื่อขอบข้างซ้ายขวาและบนล่าง เพราะโปรแกรมจะทำการตัดส่วนออกไป แต่ภาพที่ได้สามารถถ่ายจำนวนคนได้มากขึ้น และดูสนุก กว่ารูปถ่ายแบบปรกติค่ะ

ที่มา 
http://www.facebook.com/note.php?note_id=10150144486545837


รวมเด็ดถ่ายคนร่วมกับวิว





        -->ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของ เราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้ว เราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการ ถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่ มีปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะ เป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่า สถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง


ที่มา http://just-shutter.blogspot.com/2011/01/portrait.html

สุดจี๊ดกับการถ่ายภาพย้อนแสง


-->หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและ ได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้ นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่


1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)


จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้น ผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยาก






วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบหลักของการถ่ายภาพมาโครมีดังนี้

1 เลนส์ สำหรับเลนส์ที่ใช้สำหรับภาพมาโคร ที่ดีที่สุดก็คือเลนส์มาโครล่ะครับ ผมไม่ได้ยุให้ท่านต้องซื้อเลนส์มาโครนะครับ เพราะเลนส์ที่ท่านมีอยู่จะเป็นช่วง normal zoom หรือ tele ก็สามารถมาประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพมาโครได้ โดยซื้ออุปกรณ์ช่วยมาเพิ่มสมรรถนะของเลนส์ให้สามารถเข้าใกล้วัตถุได้มากยิ่ง ขึ้นเช่น ใส่ฟิลเตอร์โคลสอัพ และ ท่อต่อเลนส์หรือ extension tube ในกรณีใครที่ใช้กล้องคอมแพคก็มาโครแถมมาให้อยู่แล้ว อันนี้ก็ง่ายเข้าไปใหญ่เลย แต่คุณภาพจะสู้กล้อง slr ไม่ได้นะครับ

2 การจัดองค์ประกอบภาพ
การ จัดองค์ประกอบภาพของภาพมาโคร ไม่มีกฏตายตัวครับ ไม่จำเป็นต้องยึดหลักกฏ 9 ส่วนทุกครั้ง บางครั้งภาพไม่ครบองค์ประกอบขาดๆแหว่งๆ ก็ดูสวยได้ แต่สิ่งสำคัญกว่าองค์ประกอบภาพที่มักถูกมองข้ามคือ ฉากหลัง ถ้าฉากหลังเรียบง่ายก็จะเสริมให้ภาพสวยขึ้นมากเลยนะครับ เพราะ ฉนั้นก่อนถ่ายภาพมาโครทุกครั้ง ต้องพิจารณาฉากหลังไว้ก่อน ภาพที่ได้มาจะดูดีขึ้นทันตา แม้ว่าภาพนั้นจะองค์ประกอบไม่สวยก็ตาม แต่เรามีวิธีแก้ไขให้องค์ประกอบภาพสวยได้ ด้วยการ crop ในโปรแกรมแต่งภาพครับ

3 เรื่องของแสง
แสง ที่สวยสำหรับภาพมาโครมีอยู่ 3 แบบ คือ แสงด้านซ้าย แสงด้านขวา และ ย้อนแสง ส่วนแสงที่ไม่สวยคือแสงที่แข็ง แสงแข็งมักเกิดตอนสายๆหรือเที่ยง เพราะฉนั้นเลือกเวลาถ่ายภาพให้เหมาะสม จะเป็นเช้า หรือ เย็น จะเป็นนาทีทองที่จะสร้างภา
พให้สวยได้


ที่มา : http://tthanes.multiply.com/journal/item/6