จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

10 ข้อดีของการถ่ายภาพ

1. สามารถเก็บความงามของดอกไม้กลับมาชื่นชมทื่บ้านได้โดยไม่ต้องเด็ดมัน
2. เป็นเครื่องหยุดเวลาชั้นยอด...ภาพคนไม่มีวันแก่ลง ภาพเสียงหัวเราะไม่มีวันจาง
3. ทำให้เรารู้จักสังเกตและชื่นชมสิ่งเล็กน้อยรอบตัว
4. ทำให้รู้ว่าชีวิตมีหลายมุมมอง, หลายด้าน แล้วแต่เราจะเลือกยืนด้านไหน
5. ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งแค่กับใจตัวเอง
6. สร้างความอดทน, รู้จักรอคอย
7. สร้างความกล้า, มีมนุษยสัมพันธ์
8. เป็นการออกกำลังกายแบบเพลินๆ มารู้ตัวอีกทีก็เดินไป 4 ชั่วโมงซะแล้ว
9. ได้ถ่ายทอดสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูดให้กับคนอื่น
10.ได้รู้ว่าเงินซื้อไม่ได้ทุกอย่าง กล้องมือถืออาจจะถ่ายภาพได้ประทับใจกว่ากล้องโปร








ทริคต่างๆ














เทคนิคถ่ายภาพให้ชัด

         กดชัตเตอร์ในนิ่มนวลในการถ่ายภาพ เริ่มต้นหลายคนอาจจะบอกว่าง่ายราวกับปลอกกล้วยหอมเข้าปากเลยนะครับ แต่ผมอยากจะขอบอกไว้สักนิดว่าหลายครั้งการกดชัตเตอร์ด้วยความรวดเร็วหรือหนักเกินไปจะทำให้กล้องไหวได้ง่ายครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกล้องคอมแพคที่ขนาดเล็กและเบารวมทั้งกล้อง D-SLR ที่เป็นกล้องขนาดเล็กทั้งหลายที่มีน้ำหนักเบา การกดชัตเตอร์ที่หนักเกินไปหรือรวดเร็วเกินไปมีส่วนทำให้กล้องไหวได้ง่ายนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพถ่ายขาดความคมชัดครับ


        โฟกัสให้ชัดก่อนกดชัตเตอร์ ปัญหาถ่ายรูปไม่ชัดส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุนี้ครับ ถ้าคุณโฟกัสภาพด้วยมือต้องระลึกเสมอว่าต้องปรับระยะชัดให้ดีก่อนกดชัตเตอร์ ดังนั้นถ้าโฟกัสเองแล้วไม่ชัดก็ไม่ต้องไปโทษใครหรอก ข้าพเจ้าเองแหละครับ แต่ถ้าเป็นระบบออโต้โฟกัส สิ่งที่คุณต้องเข้าใจมี 2 เรื่อง หนึ่งคือเรื่องจุดโฟกัสของกล้อง การเลือกจุดโฟกัสถ้ากล้องมีหลายจุดจะทำให้คุณโฟกัสในตำแหน่งที่ต้องการได้อีกเรื่องหนึ่งก็คือการยืนยันโฟกัสของกล้อง ซึ่งกล้องมักจะมีสัญญาณเตือนให้ทราบ


        เลือกความไวชัตเตอร์ให้สูงขึ้นป้องกันการสั่นไหวของกล้องปัญหาหลักอีกอย่างหนึ่งที่ทำได้รูปถ่ายไม่ชัดก็คือ ภาพที่ถ่ายออกมาไหว ปัญหานี้เกิดจากการถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไปเป็นสาเหตุหนึ่ง อีกสาเหตุหนึ่งก็คือการถือกดชัตเตอร์แล้วกล้องไหว แก้ได้ไม่ยากครับ เรื่องแรกก็คือถ้าคุณถือกล้องถ่ายรูปต้องถือให้มั่น กดชัตเตอร์ให้นุ่มนวลขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกล้องไหวได้ อีกอย่างหนึ่งก็คือการเลือกความไวชัตเตอร์ให้สูงขึ้นเพื่อลดการไหวของกล้อง เท่านี้คุณก็จะเพิ่มโอกาสให้ถ่ายรูปได้ภาพที่นิ่งมีความคมชัดมากขึ้นแล้ว




ที่มา : http://camerartmagazine.com/index.php/photo-techniques/52-photo-techniques/135-10-technique-

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคง่ายๆ ในการถ่ายภาพงานรับปริญญา

1. ใช้ฟิล์มหรือดิจิตอลดี?
กล้องฟิล์มก็ได้ กล้องดิจิตอลก็ดี
กล้องฟิล์ม
ข้อดี ประหยัดแบตเตอรี่ ภาพสีสวยสดใส ภาพดูมีมิติกว่าดิจิตอล
ข้อเสีย กดแบบกระหน่ำแหลกไม่ได้เพราะมันเปลืองฟิล์มเปลืองค่าล้างอัด และต้องเสียเวลาเปลี่ยนฟิล์มแต่ละม้วน ทำให้อาจพลาดช็อตสำคัญๆ ได้
กล้องดิจิตอล
ข้อดี สามารถถ่ายได้เยอะกดเข้าไปเถอะ ได้รูปเพียบ ไม่ต้องกลัวเปลือง แถมไม่ต้องคอยพะวงกับเรื่องเปลี่ยนฟิล์มอีกด้วย
ข้อเสีย เปลืองแบตเตอรี่กว่า สีสัน มิติภาพ การไล่โทนสู้ฟิล์มไม่ได้ (แต่ก็ไม่แน่นะครับ บางคนก็ชอบภาพสไตล์เนียนแบบดิจิตอล) แต่ในปัจจุบันระบบอัดภาพจากไฟล์ดิจิตอลก็พัฒนาขึ้นมากจนแทบไม่ต่างจากภาพที่อัดจากฟิล์มมากนัก



2. การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์
ตรวจเช็ค ทำความสะอาดกล้องและเลนส์ เตรียมชาร์จแบตให้เต็ม เตรียมการ์ดให้พอ ทดลองถ่ายดูก่อนว่าใช้งานได้ปกติรึเปล่า อุปกรณ์เสริมต่างๆ ขาตั้ง รีเฟล็ก แฟลช
ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่นร่ม(เผื่อฝนตก) พัดลมพกพา หากติดตัวไปได้ด้วยก็ดี



3. เลือกเลนส์ให้เหมาะสม เลนส์แต่ละช่วงให้ภาพที่แตกต่างกัน
เลนส์มุมกว้าง เน้นเก็บบรรยากาศรอบข้างได้เป็นอย่างดี
เลนส์เทเล เหมาะกับการถ่ายแบบเน้นๆ ที่บัณฑิต ให้ฉากหลังเบลอ บัณฑิตจะดูเด่น
เลนส์เฉพาะ เช่นเลนส์ fisheye ให้ผลของภาพแปลกตา ดูน่าตื่นตาตื่นใจ, เลนส์มาโครสามารถถ่ายวัตถุเล็กๆ อย่างเช่นเข็มมหา’ลัย ป้ายชื่อเล็กๆ ได้ชัดเจน



4. พกเลนส์กี่ตัวดี? เอาไปทุกตัวเลยดีมั๊ย? อันนี้ก็ต้องถามตัวเองว่าสามารถแบกกล้องกับเลนส์หนักๆ ทั้งวันไหวรึเปล่า
ถ้ามั่นใจว่าคุณฟิตพอก็พกไปเถอะ แต่ที่สำคัญเอาไปแล้วไม่ควรจะให้มันนอนนิ่งๆ อยู่ในกระเป๋าเฉยๆ ควรหาโอกาสใช้เลนส์ที่พกไปให้ครบทุกตัว จะได้คุ้มค่ากับการแบกหน่อย
แต่ถ้าคุณไม่ฟิตพอก็เลือกเอาเฉพาะที่จำเป็นและครอบคลุมการถ่ายทั่วๆ ไป อย่างเช่น เลนส์ช่วง 18-70 หรือ 28-105 ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว



5.ฉากหลัง(background) ต้องไม่รกรุงรัง (นอกจากว่าต้องการสื่อให้เห็นบรรยากาศคึกคักของผู้คนจำนวนมากที่มาในงานรับปริญญา)
หากเจอฉากหลังรกรุงรัง อาจหลบเลี่ยงโดย
ใช้เลนส์เทเล เปิดรูรับแสงกว้างๆ เพื่อให้ฉากหลังที่รกๆ เบลอซะ
เลือกฉากหลังเป็นผนัง หรืออะไรที่เรียบๆ
ถ่ายมุมกดให้พื้นหรือสนามหญ้าเป็นฉากหลัง
หรือถ่ายมุมเงย ให้ท้องฟ้าเป็นฉากหลัง

ข้อควรรู้ในการถ่ายภาพอาหาร


1. สีของอาหารชนิดนั้นๆ และการเลือกใช้สีของภาชนะให้เหมาะสม ถ้าเลือกไม่ถูก หรือที่ง่ายที่สุด คือการใช้ภาชนะสีขาว สีอ่อน ๆ 
2. การเลือกสีพื้น background ให้เหมาะสม ไม่ควรเลือกสีที่ดูหม่นหมองมอมแมม โดยพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ควรเลือกสีพื้นอ่อนสว่าง เช่น สีขาว สีฟ้า สีเขียวอ่อน สีชมพู สีส้มอ่อน เป็นต้น
3. การจัดวางอาหารลงภาชนะในการถ่ายภาพ เราไม่เทอาหารลงในจานหรือชามในทีเดียว ควรนำจานหรือภาชนะที่ต้องการใช้ในการถ่ายภาพวางในฉาก scene นั้น เพื่อทำการประกอบภาพตั้งกล้อง หรือ ประกอบมุมกล้อง จัดวาง composition วาง props ให้เรียบร้อยรวมถึงการจัดแสง 
4. การจัดวางอาหารมีหลายรูปแบบ ถ้าผู้จัดไม่ได้เป็น chef ทำอาหารที่ผ่านหลักสูตรการทำอาหารจากสถาบันต่างๆ มาก่อน ก็ต้องทำการเรียนรู้วิธีการต่างๆ

5. ย้อนกลับไปเรื่องของการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ เรื่องของแสงมีสองอย่าง คือ แสงที่เราจัดด้วยไฟแฟลช ในสตูดิโอ และแสงธรรมชาติ
โดยส่วนตัวแล้วการใช้แสงธรรมชาติ Ambient Ligุht หรือแสงหน้าต่าง Window Light เป็นแสงที่ถ่ายภาพอาหารได้สวยงามและง่ายที่สุด แต่ต้องเข้าใจเรื่องทิศทางของแสงให้ดี
6. ข้อควรระวัง ไม่ควรวัดแสงของ Highlight และให้แสงในShadow เท่ากัน เพราะทิศทางของแสงจะหมดความหมายไป ภาพที่ได้มันจะแบนไม่สวยงาม

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพกระโดด



ปัญหาหลักๆ ของการถ่ายภาพกระโดดคือ... ตากล้องกดชัตเตอร์ไม่ทัน! แค่ปัญหานี้ปัญหาเดียวก็ทำให้ถ่ายกันไม่สำเร็จแล้ว เพราะอย่าลืมว่า แบบหนะ ต้องกระโดดนะ การกระโดดเนี่ย มันเหนื่อยมากเลยทีเดียว แล้วคิดว่าคนจะกระโดดให้ถ่ายรูปได้ซักกี่ครั้งต่อ 1 Trip...

ดังนั้น เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพกระโดดกันดีกว่า

1. การตั้งกล้อง จะต้องตั้งให้ติดพื้นที่สุด เพื่อที่จะได้เห็นแบบกระโดดสูง (ทั้งที่จริงๆอาจจะกระโดดได้ไม่สูง) เพราะเห็นระยะห่างระหว่างเท้ากับพื้น
2. ปรับโหมด TV ใช้ Speed Shutter ประมาณ 1/400
3. เปิดจอ View Finder เพื่อความง่ายต่อการจัดองค์ประกอบ โฟกัสที่หน้าของแบบ จากนั้นค่อยจัดองค์ประกอบโดยอย่าลืมว่าต้องเว้นระยะของส่วนหัวเอาไว้มากหน่อย เพราะเราจะจับภาพตอนตัวแบบกระโดดสูงสุด
4. การกดชัตเตอร์ จะกดหลังจากเรานับ 3 เสร็จแล้วแบบกำลังย่อตัว... เน้นว่ากดชัตเตอร์ตอนแบบกำลังย่อตัวนะ! 
อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่กดตอนแบบกระโดดสูงสุด เหตุที่กดตอนย่อตัวนั้น เพราะเมื่อเราคิดว่าจะกด มือเรายังไม่ได้กดตอนนั้นนะ แต่เราจะกดชัตเตอร์ Delay ออกไปนิดหน่อย ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับแบบที่กระโดดอยู่ในจุดสูงสุดพอดี


+++ เทคนิคถ่ายภาพให้มีมิติ +++

1.ถ่ายภาพให้มีความลึก
สิ่งแรกคือภาพต้องมีความลึก ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนหากภาพมีฉากหน้า สิ่งที่อยู่กลางภาพ และฉากหลัง โดยมีพื้นที่ระหว่าง 3 สิ่งนี้ เพื่อแยกให้ออกจากกันอย่างชัดเจน ภาพในลักษณะนี้จะดูมีความลึกมากกว่าภาพที่วางซับเจ็ก ไว้ที่ระยะกลางหรือฉากหลังของภาพตามปกติที่มักทำกัน

2.สร้างกรอบให้ภาพ
หามุมที่ทำให้ภาพมีฉากหน้า เมื่อมีฉากหน้ามากภาพจะดูแล้วมีความลึกมากขึ้นด้วย นอกจากฉากหน้าแล้วสิ่งที่อยู่ในระยะกลางหรือระยะไกลก็ช่วยเพิ่มความลึกให้ภาพด้วย ภาพในลักษณะนี้ควรเน้นจุดโฟกัสไปที่ซับเจ็กหรือจุดเด่นที่ต้องการ หากมีฉากหน้าที่เป็นกรอบเช่น หน้าต่างหรือประตู ควรจะมืดกว่าสิ่งที่อยู่ไกลออกไป หรืออาจให้ฉากหน้าเบลอมากๆ จากการใช้รูรับแสงกว้างเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจ ภาพที่มีฉากหน้าอยู่ในเงามืด ต้องระวังเรื่องการวัดแสงให้ดี ควรวัดแสงในบริเวณที่มีแสงสว่างก่อน จากนั้นค่อยจัดองค์ประกอบภาพให้มีฉากหน้าหรือกรอบภาพ มิฉะนั้นส่วนสว่างจะสว่างมากเกินไป ถ้าไม่ใช้ระบบแมนนวล (m) หลังจากวัดแสงแล้วให้กดปุ่มล๊อคความจำแสง (ae-l) เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าแสงที่วัดได้เปลี่ยนแปลง

3.ทำให้ภาพดูมีระยะ
ถ้าในภาพมีสิ่งที่เราคุ้นเคยเช่น คน อยู่ในระยะใกล้และมีสิ่งอื่นเช่น น้ำตกอยู่ในระยะห่างออกไป จะทำให้ภาพดูแล้วมองเห็นความลึกอย่างเด่นชัด หรือจะใช้สิ่งที่มีลักษณะเหมือนๆ กันอย่างเช่น ดอกทานตะวัน ทั้งหมดมีขนาดเท่าๆ กัน แต่ดอกที่อยู่ใกล้จะมองดูเหมือนกับมีขนาดที่ให*่กว่า ส่วนที่อยู่ห่างออกไปจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความลึกของภาพได้ดีเช่นกัน

4.ใช้เส้นในภาพสร้างมิติ
เมื่อสิ่งที่เป็นลักษณะเส้นตรงสองเส้นปรากฏในภาพ ผู้ดูภาพจะรู้สึกว่าช่วงที่เส้นคู่ขนานอยู่ห่างกันเป็นระยะใกล้ ส่วนระยะที่เส้นทั้งสองใกล้กันคือระยะไกล ดังนั้นหากจักองค์ประกอบภาพให้ภาพมีเส้นในลักษณะนี้จะทำให้ภาพดูมีความลึกได้