จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

10 ข้อดีของการถ่ายภาพ

1. สามารถเก็บความงามของดอกไม้กลับมาชื่นชมทื่บ้านได้โดยไม่ต้องเด็ดมัน
2. เป็นเครื่องหยุดเวลาชั้นยอด...ภาพคนไม่มีวันแก่ลง ภาพเสียงหัวเราะไม่มีวันจาง
3. ทำให้เรารู้จักสังเกตและชื่นชมสิ่งเล็กน้อยรอบตัว
4. ทำให้รู้ว่าชีวิตมีหลายมุมมอง, หลายด้าน แล้วแต่เราจะเลือกยืนด้านไหน
5. ไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งแค่กับใจตัวเอง
6. สร้างความอดทน, รู้จักรอคอย
7. สร้างความกล้า, มีมนุษยสัมพันธ์
8. เป็นการออกกำลังกายแบบเพลินๆ มารู้ตัวอีกทีก็เดินไป 4 ชั่วโมงซะแล้ว
9. ได้ถ่ายทอดสิ่งที่ไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูดให้กับคนอื่น
10.ได้รู้ว่าเงินซื้อไม่ได้ทุกอย่าง กล้องมือถืออาจจะถ่ายภาพได้ประทับใจกว่ากล้องโปร








ทริคต่างๆ














เทคนิคถ่ายภาพให้ชัด

         กดชัตเตอร์ในนิ่มนวลในการถ่ายภาพ เริ่มต้นหลายคนอาจจะบอกว่าง่ายราวกับปลอกกล้วยหอมเข้าปากเลยนะครับ แต่ผมอยากจะขอบอกไว้สักนิดว่าหลายครั้งการกดชัตเตอร์ด้วยความรวดเร็วหรือหนักเกินไปจะทำให้กล้องไหวได้ง่ายครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกล้องคอมแพคที่ขนาดเล็กและเบารวมทั้งกล้อง D-SLR ที่เป็นกล้องขนาดเล็กทั้งหลายที่มีน้ำหนักเบา การกดชัตเตอร์ที่หนักเกินไปหรือรวดเร็วเกินไปมีส่วนทำให้กล้องไหวได้ง่ายนี่คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาพถ่ายขาดความคมชัดครับ


        โฟกัสให้ชัดก่อนกดชัตเตอร์ ปัญหาถ่ายรูปไม่ชัดส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุนี้ครับ ถ้าคุณโฟกัสภาพด้วยมือต้องระลึกเสมอว่าต้องปรับระยะชัดให้ดีก่อนกดชัตเตอร์ ดังนั้นถ้าโฟกัสเองแล้วไม่ชัดก็ไม่ต้องไปโทษใครหรอก ข้าพเจ้าเองแหละครับ แต่ถ้าเป็นระบบออโต้โฟกัส สิ่งที่คุณต้องเข้าใจมี 2 เรื่อง หนึ่งคือเรื่องจุดโฟกัสของกล้อง การเลือกจุดโฟกัสถ้ากล้องมีหลายจุดจะทำให้คุณโฟกัสในตำแหน่งที่ต้องการได้อีกเรื่องหนึ่งก็คือการยืนยันโฟกัสของกล้อง ซึ่งกล้องมักจะมีสัญญาณเตือนให้ทราบ


        เลือกความไวชัตเตอร์ให้สูงขึ้นป้องกันการสั่นไหวของกล้องปัญหาหลักอีกอย่างหนึ่งที่ทำได้รูปถ่ายไม่ชัดก็คือ ภาพที่ถ่ายออกมาไหว ปัญหานี้เกิดจากการถ่ายภาพที่ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไปเป็นสาเหตุหนึ่ง อีกสาเหตุหนึ่งก็คือการถือกดชัตเตอร์แล้วกล้องไหว แก้ได้ไม่ยากครับ เรื่องแรกก็คือถ้าคุณถือกล้องถ่ายรูปต้องถือให้มั่น กดชัตเตอร์ให้นุ่มนวลขึ้นก็จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องกล้องไหวได้ อีกอย่างหนึ่งก็คือการเลือกความไวชัตเตอร์ให้สูงขึ้นเพื่อลดการไหวของกล้อง เท่านี้คุณก็จะเพิ่มโอกาสให้ถ่ายรูปได้ภาพที่นิ่งมีความคมชัดมากขึ้นแล้ว




ที่มา : http://camerartmagazine.com/index.php/photo-techniques/52-photo-techniques/135-10-technique-

วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคง่ายๆ ในการถ่ายภาพงานรับปริญญา

1. ใช้ฟิล์มหรือดิจิตอลดี?
กล้องฟิล์มก็ได้ กล้องดิจิตอลก็ดี
กล้องฟิล์ม
ข้อดี ประหยัดแบตเตอรี่ ภาพสีสวยสดใส ภาพดูมีมิติกว่าดิจิตอล
ข้อเสีย กดแบบกระหน่ำแหลกไม่ได้เพราะมันเปลืองฟิล์มเปลืองค่าล้างอัด และต้องเสียเวลาเปลี่ยนฟิล์มแต่ละม้วน ทำให้อาจพลาดช็อตสำคัญๆ ได้
กล้องดิจิตอล
ข้อดี สามารถถ่ายได้เยอะกดเข้าไปเถอะ ได้รูปเพียบ ไม่ต้องกลัวเปลือง แถมไม่ต้องคอยพะวงกับเรื่องเปลี่ยนฟิล์มอีกด้วย
ข้อเสีย เปลืองแบตเตอรี่กว่า สีสัน มิติภาพ การไล่โทนสู้ฟิล์มไม่ได้ (แต่ก็ไม่แน่นะครับ บางคนก็ชอบภาพสไตล์เนียนแบบดิจิตอล) แต่ในปัจจุบันระบบอัดภาพจากไฟล์ดิจิตอลก็พัฒนาขึ้นมากจนแทบไม่ต่างจากภาพที่อัดจากฟิล์มมากนัก



2. การเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์
ตรวจเช็ค ทำความสะอาดกล้องและเลนส์ เตรียมชาร์จแบตให้เต็ม เตรียมการ์ดให้พอ ทดลองถ่ายดูก่อนว่าใช้งานได้ปกติรึเปล่า อุปกรณ์เสริมต่างๆ ขาตั้ง รีเฟล็ก แฟลช
ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อย่างเช่นร่ม(เผื่อฝนตก) พัดลมพกพา หากติดตัวไปได้ด้วยก็ดี



3. เลือกเลนส์ให้เหมาะสม เลนส์แต่ละช่วงให้ภาพที่แตกต่างกัน
เลนส์มุมกว้าง เน้นเก็บบรรยากาศรอบข้างได้เป็นอย่างดี
เลนส์เทเล เหมาะกับการถ่ายแบบเน้นๆ ที่บัณฑิต ให้ฉากหลังเบลอ บัณฑิตจะดูเด่น
เลนส์เฉพาะ เช่นเลนส์ fisheye ให้ผลของภาพแปลกตา ดูน่าตื่นตาตื่นใจ, เลนส์มาโครสามารถถ่ายวัตถุเล็กๆ อย่างเช่นเข็มมหา’ลัย ป้ายชื่อเล็กๆ ได้ชัดเจน



4. พกเลนส์กี่ตัวดี? เอาไปทุกตัวเลยดีมั๊ย? อันนี้ก็ต้องถามตัวเองว่าสามารถแบกกล้องกับเลนส์หนักๆ ทั้งวันไหวรึเปล่า
ถ้ามั่นใจว่าคุณฟิตพอก็พกไปเถอะ แต่ที่สำคัญเอาไปแล้วไม่ควรจะให้มันนอนนิ่งๆ อยู่ในกระเป๋าเฉยๆ ควรหาโอกาสใช้เลนส์ที่พกไปให้ครบทุกตัว จะได้คุ้มค่ากับการแบกหน่อย
แต่ถ้าคุณไม่ฟิตพอก็เลือกเอาเฉพาะที่จำเป็นและครอบคลุมการถ่ายทั่วๆ ไป อย่างเช่น เลนส์ช่วง 18-70 หรือ 28-105 ก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว



5.ฉากหลัง(background) ต้องไม่รกรุงรัง (นอกจากว่าต้องการสื่อให้เห็นบรรยากาศคึกคักของผู้คนจำนวนมากที่มาในงานรับปริญญา)
หากเจอฉากหลังรกรุงรัง อาจหลบเลี่ยงโดย
ใช้เลนส์เทเล เปิดรูรับแสงกว้างๆ เพื่อให้ฉากหลังที่รกๆ เบลอซะ
เลือกฉากหลังเป็นผนัง หรืออะไรที่เรียบๆ
ถ่ายมุมกดให้พื้นหรือสนามหญ้าเป็นฉากหลัง
หรือถ่ายมุมเงย ให้ท้องฟ้าเป็นฉากหลัง

ข้อควรรู้ในการถ่ายภาพอาหาร


1. สีของอาหารชนิดนั้นๆ และการเลือกใช้สีของภาชนะให้เหมาะสม ถ้าเลือกไม่ถูก หรือที่ง่ายที่สุด คือการใช้ภาชนะสีขาว สีอ่อน ๆ 
2. การเลือกสีพื้น background ให้เหมาะสม ไม่ควรเลือกสีที่ดูหม่นหมองมอมแมม โดยพื้นฐานที่ง่ายที่สุด ควรเลือกสีพื้นอ่อนสว่าง เช่น สีขาว สีฟ้า สีเขียวอ่อน สีชมพู สีส้มอ่อน เป็นต้น
3. การจัดวางอาหารลงภาชนะในการถ่ายภาพ เราไม่เทอาหารลงในจานหรือชามในทีเดียว ควรนำจานหรือภาชนะที่ต้องการใช้ในการถ่ายภาพวางในฉาก scene นั้น เพื่อทำการประกอบภาพตั้งกล้อง หรือ ประกอบมุมกล้อง จัดวาง composition วาง props ให้เรียบร้อยรวมถึงการจัดแสง 
4. การจัดวางอาหารมีหลายรูปแบบ ถ้าผู้จัดไม่ได้เป็น chef ทำอาหารที่ผ่านหลักสูตรการทำอาหารจากสถาบันต่างๆ มาก่อน ก็ต้องทำการเรียนรู้วิธีการต่างๆ

5. ย้อนกลับไปเรื่องของการจัดองค์ประกอบในการถ่ายภาพ เรื่องของแสงมีสองอย่าง คือ แสงที่เราจัดด้วยไฟแฟลช ในสตูดิโอ และแสงธรรมชาติ
โดยส่วนตัวแล้วการใช้แสงธรรมชาติ Ambient Ligุht หรือแสงหน้าต่าง Window Light เป็นแสงที่ถ่ายภาพอาหารได้สวยงามและง่ายที่สุด แต่ต้องเข้าใจเรื่องทิศทางของแสงให้ดี
6. ข้อควรระวัง ไม่ควรวัดแสงของ Highlight และให้แสงในShadow เท่ากัน เพราะทิศทางของแสงจะหมดความหมายไป ภาพที่ได้มันจะแบนไม่สวยงาม

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคนิคถ่ายภาพกระโดด



ปัญหาหลักๆ ของการถ่ายภาพกระโดดคือ... ตากล้องกดชัตเตอร์ไม่ทัน! แค่ปัญหานี้ปัญหาเดียวก็ทำให้ถ่ายกันไม่สำเร็จแล้ว เพราะอย่าลืมว่า แบบหนะ ต้องกระโดดนะ การกระโดดเนี่ย มันเหนื่อยมากเลยทีเดียว แล้วคิดว่าคนจะกระโดดให้ถ่ายรูปได้ซักกี่ครั้งต่อ 1 Trip...

ดังนั้น เรามาดูเทคนิคการถ่ายภาพกระโดดกันดีกว่า

1. การตั้งกล้อง จะต้องตั้งให้ติดพื้นที่สุด เพื่อที่จะได้เห็นแบบกระโดดสูง (ทั้งที่จริงๆอาจจะกระโดดได้ไม่สูง) เพราะเห็นระยะห่างระหว่างเท้ากับพื้น
2. ปรับโหมด TV ใช้ Speed Shutter ประมาณ 1/400
3. เปิดจอ View Finder เพื่อความง่ายต่อการจัดองค์ประกอบ โฟกัสที่หน้าของแบบ จากนั้นค่อยจัดองค์ประกอบโดยอย่าลืมว่าต้องเว้นระยะของส่วนหัวเอาไว้มากหน่อย เพราะเราจะจับภาพตอนตัวแบบกระโดดสูงสุด
4. การกดชัตเตอร์ จะกดหลังจากเรานับ 3 เสร็จแล้วแบบกำลังย่อตัว... เน้นว่ากดชัตเตอร์ตอนแบบกำลังย่อตัวนะ! 
อาจจะสงสัยว่าทำไมไม่กดตอนแบบกระโดดสูงสุด เหตุที่กดตอนย่อตัวนั้น เพราะเมื่อเราคิดว่าจะกด มือเรายังไม่ได้กดตอนนั้นนะ แต่เราจะกดชัตเตอร์ Delay ออกไปนิดหน่อย ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่พอดีกับแบบที่กระโดดอยู่ในจุดสูงสุดพอดี


+++ เทคนิคถ่ายภาพให้มีมิติ +++

1.ถ่ายภาพให้มีความลึก
สิ่งแรกคือภาพต้องมีความลึก ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนหากภาพมีฉากหน้า สิ่งที่อยู่กลางภาพ และฉากหลัง โดยมีพื้นที่ระหว่าง 3 สิ่งนี้ เพื่อแยกให้ออกจากกันอย่างชัดเจน ภาพในลักษณะนี้จะดูมีความลึกมากกว่าภาพที่วางซับเจ็ก ไว้ที่ระยะกลางหรือฉากหลังของภาพตามปกติที่มักทำกัน

2.สร้างกรอบให้ภาพ
หามุมที่ทำให้ภาพมีฉากหน้า เมื่อมีฉากหน้ามากภาพจะดูแล้วมีความลึกมากขึ้นด้วย นอกจากฉากหน้าแล้วสิ่งที่อยู่ในระยะกลางหรือระยะไกลก็ช่วยเพิ่มความลึกให้ภาพด้วย ภาพในลักษณะนี้ควรเน้นจุดโฟกัสไปที่ซับเจ็กหรือจุดเด่นที่ต้องการ หากมีฉากหน้าที่เป็นกรอบเช่น หน้าต่างหรือประตู ควรจะมืดกว่าสิ่งที่อยู่ไกลออกไป หรืออาจให้ฉากหน้าเบลอมากๆ จากการใช้รูรับแสงกว้างเพื่อให้ภาพดูน่าสนใจ ภาพที่มีฉากหน้าอยู่ในเงามืด ต้องระวังเรื่องการวัดแสงให้ดี ควรวัดแสงในบริเวณที่มีแสงสว่างก่อน จากนั้นค่อยจัดองค์ประกอบภาพให้มีฉากหน้าหรือกรอบภาพ มิฉะนั้นส่วนสว่างจะสว่างมากเกินไป ถ้าไม่ใช้ระบบแมนนวล (m) หลังจากวัดแสงแล้วให้กดปุ่มล๊อคความจำแสง (ae-l) เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าแสงที่วัดได้เปลี่ยนแปลง

3.ทำให้ภาพดูมีระยะ
ถ้าในภาพมีสิ่งที่เราคุ้นเคยเช่น คน อยู่ในระยะใกล้และมีสิ่งอื่นเช่น น้ำตกอยู่ในระยะห่างออกไป จะทำให้ภาพดูแล้วมองเห็นความลึกอย่างเด่นชัด หรือจะใช้สิ่งที่มีลักษณะเหมือนๆ กันอย่างเช่น ดอกทานตะวัน ทั้งหมดมีขนาดเท่าๆ กัน แต่ดอกที่อยู่ใกล้จะมองดูเหมือนกับมีขนาดที่ให*่กว่า ส่วนที่อยู่ห่างออกไปจะมีขนาดเล็กลงไปเรื่อยๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความลึกของภาพได้ดีเช่นกัน

4.ใช้เส้นในภาพสร้างมิติ
เมื่อสิ่งที่เป็นลักษณะเส้นตรงสองเส้นปรากฏในภาพ ผู้ดูภาพจะรู้สึกว่าช่วงที่เส้นคู่ขนานอยู่ห่างกันเป็นระยะใกล้ ส่วนระยะที่เส้นทั้งสองใกล้กันคือระยะไกล ดังนั้นหากจักองค์ประกอบภาพให้ภาพมีเส้นในลักษณะนี้จะทำให้ภาพดูมีความลึกได้


วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

เลนส์Canon

Canon EF 100-400mm F4.5-5.6 L IS USM

  • ระยะโฟกัสและรูรับแสงกว้างสุด: 100-400mm 1:4.5-5.6
  • Diagonal Angle of View: 24 องศา - 6 องศา(43.2mm)
  • Vertical Angle of View: 14 องศา - 3 องศา (24mm)
  • Horizontal Angle of View: 20 องศา - 5 องศา (36mm)
  • ขนาด Filter: 77mm
  • ส่วนประกอบของเลนส์: 17 ชิ้นใน 14 กลุ่ม
  • มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว Image Stabilizer
  • รูรับแสงแคบสุด: f/32-38
  • จำนวนม่านชัตเตอร์: 8
  • ระยะโฟกัสใกล้สุด: 1.8 เมตร
  • มอเตอร์โฟกัส: Ultrasonic
  • ขนาด: 92มม. (เส้นผ่าศูนย์กลาง) x 189มม.
  • น้ำหนัก: 1360 กรัม

** NEW ** Canon EF 70-200mm f/2.8L IS II USM

  • เลนส์เทเลซูมที่ออกแบบให้แก้ไขเรื่องการหักเหและการฟุ้งกระจายของแสงด้วยเลนส์ UD และเลนส์ฟลูออไรต์ 4 ชิ้น ใช้งานได้ดีในทุกสภาพแสงโดยให้ภาพที่คมชัด รายละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้มอเตอร์ออโต้โฟกัสชนิดวงแหวน USM พร้อมระบบโฟกัสแบบเคลื่อนที่ภายใน ทำให้ปรับออโต้โฟกัสได้รวดเร็วและเงียบ สามารถปรับโฟกัสเองแบบแมนนวลได้ตลอดเวลาแม้ในขณะที่กำลังใช้ระบบออโต้โฟกัส และยังคงใช้ระบบออโต้โฟกัสได้เมื่อเพิ่มทางยาวโฟกัสให้สูงขึ้นเป็น 98-280 มม. f/4 หรือ 140-400 มม. f/5.6 ด้วยอุปกรณ์เสริมเลนส์เพิ่มทางยาวโฟกัส Extender EF1.4xII หรือ EF2xII
  • *** หมายเหตุ : เมื่อใช้งานเลนส์ EF70-200mm f/2.8L IS II USM กับเลนส์เพิ่มทางยาวโฟกัส EF1.4xII หรือ EF2xII ระบบออโต้โฟกัสแบบ หลายจุดของกล้อง EOS จะเปลี่ยนเป็นแบบจุดเดียว
  • ตรงกลาง



Canon EF100mm f/2.8L Macro IS USM





วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ทริคเด็ดๆ ถ่ายภาพพาโนรามาให้สวยเก๋ด้วยมือเราเอง


สร้างฉากหน้าให้กับภาพ เพื่อให้ภาพไม่หลวม
เพื่อนๆ คงรู้แล้วว่ากล้อง cyber-shot สามารถถ่ายรูปพาโนรามาได้เพียงช็อตเดียว วันนี้เลยนำทริคเด็ดๆ มาบอกว่า การถ่ายภาพพาโนรามาออกมาสวยเก๋ ต้องทำอย่างไรกันบ้างมาฝากค่ะ :)

การวัดแสง
เนื่องจากการถ่ายภาพแนวนี้ กินพื้นที่เป็นกว้างมากๆ เกินกว่าที่กล้องจะวัดแสงในครั้งเดียวได้ จึงเกิดปัญหา โดยเฉพาะที่ที่มีความต่างแสงมากๆ ว่าเราควรจะวัดแสงที่จุดไหน วัดตรงที่มืด ส่วนที่สว่างก็ขาวโพลน ส่วนถ้าวัดที่สว่าง ส่วนที่มืดก็ดำปี๋อีก คำตอบไม่ยากค่ะ  ตรงไหนเป็นจุดเด่นของภาพก็ให้วัดแสงจุดนั้น โดยการกดชัตเตอร์ครึ่งหนึ่งค้างไว้ เพื่อวัดแสง แล้วหมุนกล้องมีที่จุดเริ่มต้นของภาพ แล้วกดย้ำเพื่อเป็นการกดชัตเตอร์ (กดค้างไว้ครึ่งหนึ่งเพื่อวัดแสงแล้ว) จากนัดก็แพนกล้องตามปรกติ เพียงเท่านี่ก็ได้ภาพในสภาพแสงตามต้องการแล้วค่ะ


หลีกเลี่ยงการถ่ายวัดถุที่กำลังเคลื่อนไหว
กล้องCyber-shot รุ่นแรกๆที่มีโหมดถ่ายพานอราม่ามักมีปัญหาเมื่อถ่ายวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว กล้องจับภาพไม่ทันแล้วนำมาต่อผิดสัดส่วนหรือซ้อนกัน แต่ในรุ่นหลังๆ ได้แก้ปัญหานี้เรียบร้อย จึงไม่ต้องกังวลอีกต่อไป


ใช้ถ่ายคน หรือภาพหมู่
หากเป็นการถ่ายพาโนราม่าแบบดั้งเดิมอาจเป็นเรื่องยากที่จะถ่ายคน แต่สำหรับกล้อง Cyber Shot กลายเป็นเรื่องง่ายเท่ากับการถ่ายภาพธรรมดา แต่จำเป็นต้องกะระยะเผื่อขอบข้างซ้ายขวาและบนล่าง เพราะโปรแกรมจะทำการตัดส่วนออกไป แต่ภาพที่ได้สามารถถ่ายจำนวนคนได้มากขึ้น และดูสนุก กว่ารูปถ่ายแบบปรกติค่ะ

ที่มา 
http://www.facebook.com/note.php?note_id=10150144486545837


รวมเด็ดถ่ายคนร่วมกับวิว





        -->ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของ เราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้ว เราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการ ถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่ มีปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะ เป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่า สถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง


ที่มา http://just-shutter.blogspot.com/2011/01/portrait.html

สุดจี๊ดกับการถ่ายภาพย้อนแสง


-->หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและ ได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้ นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่


1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)


จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้น ผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยาก






วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554

องค์ประกอบหลักของการถ่ายภาพมาโครมีดังนี้

1 เลนส์ สำหรับเลนส์ที่ใช้สำหรับภาพมาโคร ที่ดีที่สุดก็คือเลนส์มาโครล่ะครับ ผมไม่ได้ยุให้ท่านต้องซื้อเลนส์มาโครนะครับ เพราะเลนส์ที่ท่านมีอยู่จะเป็นช่วง normal zoom หรือ tele ก็สามารถมาประยุกต์ใช้ในการถ่ายภาพมาโครได้ โดยซื้ออุปกรณ์ช่วยมาเพิ่มสมรรถนะของเลนส์ให้สามารถเข้าใกล้วัตถุได้มากยิ่ง ขึ้นเช่น ใส่ฟิลเตอร์โคลสอัพ และ ท่อต่อเลนส์หรือ extension tube ในกรณีใครที่ใช้กล้องคอมแพคก็มาโครแถมมาให้อยู่แล้ว อันนี้ก็ง่ายเข้าไปใหญ่เลย แต่คุณภาพจะสู้กล้อง slr ไม่ได้นะครับ

2 การจัดองค์ประกอบภาพ
การ จัดองค์ประกอบภาพของภาพมาโคร ไม่มีกฏตายตัวครับ ไม่จำเป็นต้องยึดหลักกฏ 9 ส่วนทุกครั้ง บางครั้งภาพไม่ครบองค์ประกอบขาดๆแหว่งๆ ก็ดูสวยได้ แต่สิ่งสำคัญกว่าองค์ประกอบภาพที่มักถูกมองข้ามคือ ฉากหลัง ถ้าฉากหลังเรียบง่ายก็จะเสริมให้ภาพสวยขึ้นมากเลยนะครับ เพราะ ฉนั้นก่อนถ่ายภาพมาโครทุกครั้ง ต้องพิจารณาฉากหลังไว้ก่อน ภาพที่ได้มาจะดูดีขึ้นทันตา แม้ว่าภาพนั้นจะองค์ประกอบไม่สวยก็ตาม แต่เรามีวิธีแก้ไขให้องค์ประกอบภาพสวยได้ ด้วยการ crop ในโปรแกรมแต่งภาพครับ

3 เรื่องของแสง
แสง ที่สวยสำหรับภาพมาโครมีอยู่ 3 แบบ คือ แสงด้านซ้าย แสงด้านขวา และ ย้อนแสง ส่วนแสงที่ไม่สวยคือแสงที่แข็ง แสงแข็งมักเกิดตอนสายๆหรือเที่ยง เพราะฉนั้นเลือกเวลาถ่ายภาพให้เหมาะสม จะเป็นเช้า หรือ เย็น จะเป็นนาทีทองที่จะสร้างภา
พให้สวยได้


ที่มา : http://tthanes.multiply.com/journal/item/6

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ตัวอย่างภาพสวยๆ




เทคนิคการถ่ายภาพ





ทำความรู้จักกับกล้องดีกว่า^^"

มีกล้องสักตัว...เลือกซื้อกล้องแบบไหนดี
          เห็นภาพที่คนอื่นเขาถ่ายมาสวยๆ ทั้งนั้น บางคนก็คงคิดจะถ่ายภาพกะเขาบ้าง แต่กล้องมีมากมายหลายประเภทแล้วจะเลือกแบบไหนดี บางตัวเห็นมีเลนส์ยื่นออกมายาวๆ บางตัวก็เล็กจิ๋วน่าพกพา บางตัวก็ใหญ่เทอะทะ แล้วแบบไหนล่ะที่ถ่ายภาพออกมาสวยงาม จะเลือกซื้อแบบไหนให้ได้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า
กล้องที่เราเห็นอยู่มากมายหลายแบบ แยกออกเป็นประเภทดังนี้คือ
         กล้องคอมแพค หรือที่รู้จักกันในนาม ..กล้องปัญญาอ่อน.. อันที่จริงมันเป็นกล้องอัจฉริยะตะหากล่ะ เพราะว่ามันแสนรู้เพียงคนถ่ายกดปุ่ม ปุ่มเดียวโดยไม่ต้องปรับอะไรเลยก็ได้ภาพที่สวยสมใจแล้ว หากแสงไม่สว่างไม่พอกล้องแสนรู้ตัวนี้ก็จะสั่งให้แฟชทกระเด้งขึ้นมาและฉายแสงเอง อันที่จริงมันเป็นกล้องอัจฉริยะแต่ที่เรียกว่าปัญญาอ่อน ม่ายรู้ว่ากล้องหรือคนถ่ายกันแน่.... เอาเป็นว่าต่อไปเราเรียกมันว่ากล้องคอมแพคดีกว่านะ ดีกว่าเรียกว่ากล้องปัญญาอ่อนเดี๋ยวจะสะเทือนใจผู้ใช้งาน กล้องคอมแพคสมัยนี้มีคุณภาพที่สูงมาก ให้ความคมชัดสูง แทบทุกตัวจะมีซูมในตัวสามารถดึงภาพให้ได้ภาพที่ใหญ่ๆ บางรุ่นก็มีลูกเล่นมากมาย มีหลายระดับราคาให้เลือกตั้งแต่พันกว่าๆ ไปจนถึงเป็นหมื่นกว่าบาท กล้องประเภทนี้เปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ ปรับเปลี่ยนความเร็วในการบันทึกภาพไม่ได้
ข้อดี ตัวเล็กกระทัดรัด น้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพา ใช้ง่าย เห็นมุมไหนถูกใจก็เอาออกมาเล็ง แล้วก็กดเช๊ะเดียวก็ได้ภาพสมใจ ไม่ต้องมีความรู้เรื่องกล้องก็ใช้ได้
ข้อเสีย ไม่มีลูกเล่นอื่นๆ ที่จะสร้างสรรภาพให้สวยงามเหมือนดั่งกล้อง SLR ความคมชัดเป็นรองอย่างมาก
  
ใช้กล้องคอมแพคถ่ายน้ำตก ได้ภาพแบบภาพซ้ายมือ   สวยสู้กล้องที่มีลูกเล่นสร้างสรรค์ภาพอย่าง  กล้อง SLR ไม่ได้
        กล้อง SLR อ่านแล้วงงๆ ว่าทำไมต้องเป็นตัวย่อด้วยแล้วมันเป็นอย่างไร เจ้า SLR เนี่ย มันย่อมาจาก คำที่แปลว่า กล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยวแปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือกล้องมองผ่านเลนส์ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรามองเห็นในช่องมองภาพก็จะเป็นภาพที่จะปรากฏบนภาพถ่าย ถ้าหากเราลืมเปิดหน้าเลนส์ก็จะมองไม่เห็นอะไรเลย กล้องที่ช่างภาพเขาใช้กัน ที่ใส่เลนส์ยาวๆ ยืดได้หดได้นั่นล่ะ คือกล้อง SLR สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ตามที่ต้องการได้ เมื่อต้องการถ่ายภาพวิวส์ก็เปลี่ยนมาใช้เลนส์มุมกว้าง เมื่อต้องการถ่ายภาพที่ดึงภาพให้เห็นวัตถุที่ใหญ่ๆ เช่นการถ่ายภาพนกก็ต้องเปลี่ยนไปใช้เลนส์ถ่ายไกล สามารถเลือกใช้เลนส์ได้มากมายหลายขนาด
กล้องประเภทนี้นอกจากจะถอดเปลี่ยนเลนส์ได้แล้วยังสามารถใส่แฟชทที่หัวกล้องได้ด้วยทำให้เราเลือกใช้แฟชทที่มีความแรงตามที่เราต้องการได้
กล้อง SLR แยกเป็น 3 ประเภทคือ
กล้องแมนนวล เป็นกล้องที่ผู้ใช้ต้องปรับเองทุกอย่าง ปรับความชัด ปรับขนาดหน้ากล้อง ปรับขนาดความเร็วชัตเตอร์ โดยจะมีเครื่องวัดแสงบ่งชี้ให้เรารู้ว่าแสงพอดีหรือมากไปน้อยไป
กล้องประเภทนี้ข้อดีคือระบบการทำงานเป็นกลไก ทนทานกว่าระบบกล้องอิเลคโทรนิคเพราะไม่มีแผงวงจรไฟฟ้าที่อาจจะเสื่อมเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
กล้อง SLR แบบกลไกล
     ข้อเสียก็มีคือ ช้า ต้องเสียเวลาปรับแต่ง ไม่ทันการถ่ายภาพเร่งด่วนที่สำคัญๆ เพราะมัวแต่วัดแสงและปรับความชัดของภาพ บางครั้งการถ่ายภาพคน คนยิ้มแล้วก็ยังไม่ยอมถ่ายจนทำให้นางแบบยิ้มแล้วยิ้มอีกจนเมื่อยแก้ม ยิ่งถ่ายภาพตอนกลางคืนยิ่งมีปัญหามากเพราะไม่สามารถมองเห็นวัตถุในที่มืดได้ เช่นการถ่ายภาพคนหน้าเต็นท์  เลนส์สำหรับกล้องแมนนวลก็มีออกมาน้อยทำให้ตัวเลือกน้อย เมื่อของมีน้อยราคาก็แพงเป็นของธรรมดา
กล้องแมนนวลมักจะมีราคาถูกเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นในการเรียนรู้การถ่ายภาพ ยกเว้นบางยี่ห้อที่ราคาแพงค้างฟ้าก็ยังมีคนซื้อเพราะติดในยี่ห้อ
กล้องไฟฟ้า กล้องแบบนี้ใช้การทำงานแบบช่วยๆ กันระหว่างคนกับวงจรไฟฟ้า คนปรับบ้างกล้องปรับบ้างช่วยๆ กันไป สิ่งที่ผู้ถ่ายจะต้องปรับคือ ปรับความคมชัดของเลนส์  นอกจากนี้อาจจะต้องปรับความเร็วชัดเตอร์ กล้องจะปรับขนาดรูรับแสงให้เองโดยอัตโนมัติ หรือผู้ถ่ายปรับขนาดรูรับแสง ส่วนกล้องปรับความเร็วชัตเตอร์ให้ แล้วแต่ยี่ห้อและรุ่นที่ออกมา หากอ่านแล้วงงๆ ว่าต้องปรับอะไร คลิกเข้าไปอ่านในเรื่องการปรับแสงในหัวข้อกล้องและเลนส
กล้อง SLR แบบไฟฟ้า
        กล้อง AF หรือกล้อง Auto Focus ปรับความชัดของภาพอัตโนมัติ กล้อง SLR แบบนี้เป็นกล้องระบบอิเลคโนนิคที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ขนาดจิ๋วที่อยู่ในตัวกล้อง แสนรู้เป็นที่สุด การใช้งานสะดวกสะบายเหมือนกล้องคอมแพคแต่มีขนาดใหญ่กว่า แต่คุณภาพระดับสุดยอด การทำงานของกล้อง AF มีหลายระบบภายในตัวเดียวให้เลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้
กล้อง SLR แบบ Auto Focus
     1. ระบบ Full Auto หรือระบบอัตโนมัติเต็มระบบ ผู้ใช้มีหน้าที่กดปุ่มเพียงอย่างเดียวที่เหลือกล้องจัดการปรับให้ทุกอย่าง ถ้าแสงไม่พอแฟชทก็จะฉายไฟออกมาเองโดยอัตโนมัติ ใครก็ได้ที่มีนิ้วสำหรับกดปุ่มก็สามารถใช้งานได้แล้ว
     2. ระบบ Program กล้องปรับให้เองทุกอย่างเหมือนกับระบบ Full Auto แต่ผู้ใช้สามารถปรับแต่งได้ เช่นการปรับหน้ากล้องให้แคบลง กล้องก็จะปรับลดความเร็วชัตเตอร์ลงเพื่อให้แสงพอดีสำหรับการถ่ายภาพ
     3. ระบบ Tv ผู้ถ่ายปรับแต่งความเร็วชัตเตอร์เอง โดยกล้องจะปรับขนาดรูรับแสงให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้แสงพอดีสำหรับการถ่ายภาพ
    3. ระบบ Av ผู้ถ่ายปรับแต่งขนาดรูรับแสงเอง โดยกล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ให้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้แสงพอดีสำหรับการถ่ายภาพ
นอกจากนี้ยังมีระบบอื่นๆ ที่เป็นลูกเล่นของแต่ละยี่ห้อเช่น โปรแกรมถ่ายดอกไม้ โปรแกรมถ่ายภาพกีฬา โปรแกรมถ่ายภาพวิวส์
     กล้องแบบนี้สะดวกต่อการใช้งานและยังมีลูกเล่นมากมายที่จะสร้างสรรค์ภาพให้ได้ภาพที่สวยงาม เป็น กล้องที่ได้รับความนิยมมาก มีให้เลือกตั้งแต่ราคาประหยัดไปจนถึงครึ่งแสนบาท
กล้อง APS เป็นกล้องที่ใช้ฟิล์ม APS ให้ความคมชัดสูงกว่ากล้อง SLR สามารถอัดล้างได้เหมือนกับฟิล์มที่ถ่ายจากกล้อง SLR ทุกประการ แต่ไม่ได้รับความนิยมเนื่องจากอยู่กึ่งกลางระหว่างกล้องระบบฟิล์มธรรมดา กับกล้องดิจิตอลแบบไร้ฟิล์ม
กล้องดิจิตอล เป็นกล้องไร้ฟิล์ม กำลังมาแรงสุดๆ สำหรับวันนี้ เดี๋ยวมานะ แป๊บนึง.....
กล้องดิจิตอล